Highlight September-October 2002 |
||||
ร.ศ. 220 "ฉลองราชธานี 220 ปี กรุงรัตนโกสินทร์" |
||||
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี บนฝั่งซ้ายหรือฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อทรงสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์ พ.ศ. 2325 ได้มีพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลาย่ำรุ่ง 54 นาที ( 06.54 น. ) เมื่อใหม่นี้พระราชทานนามว่า | ||||
![]() |
"กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศนมหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกทัติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ " | |||
การเริ่มต้นนี้เปรียบเสมือนจุดกำเนิดแห่งประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานครและนำไปสู่การเติบโตเป็นมหานครที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก บัดนี้ เป็นเวลา 220 ปี ที่กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ไพร่ฟ้าประชาชาชนชาวไทยมีความร่มเย็นเป็นสุขภายใต้พระบรมฌพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทั้ง 9 รัชกาล | ||||
เมื่อแรกสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ อาณาเขตของกรุงเทพมหานคร ไม่ได้กว้างขวางเหมือนทุกวันนี้ คงมีพื้นที่เพียงเฉพาะในเขตกำแพงเมืองเท่านั้น กล่าวคือ มีกำแพงเมืองยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ทางด้านทิศตะวันออกเลียบตามแนวคูเมือง แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางลำพูมาทะลุออกแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด้านทิศใต้ตรงปากคลองใกล้สะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งเรียกว่าคลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่าง ส่วนทางด้านตะวันตกนั้นคงใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นคูเมือง แต่มิได้สร้างกำแพงเมืองเหมือนทางด้านตะวันออก กรุงรัตนโกสินทร์ในครั้งนั้นมีเนื้อที่เพียง 2,163 ไร่ พื้นที่นอกกำแพงเมืองออกไปยังเป็นทุ่งนาสำหรับปลูกข้าว มีแต่ไร่นาสุดสายตา | ||||
กรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2545 นับเป็นรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) 220 โฉมหน้าของเมืองได้เปลี่ยนไป พื้นที่ของกรุงเทพมหานครได้ขยายกว้างกว่าเดิมเป็นอันมาก กล่าวคือ แต่เดิมกรุงเทพฯมีฐานะเป็นจังหวัดๆ หนึ่ง เรียกชื่อตามราชการว่า จังหวัดพระนคร ต่อมาได้รวมกับจังหวัดธนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับกรุงเทพฯ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 24 | ![]() |
|||
ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นจังหวัดเดียวกัน โดยเรียกชื่อใหม่ว่า นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร | ||||
![]() |
![]() |
|||
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีเนื้อที่กว้างถึง 1,549 ตารางกิโลเมตร มีตึกรามบ้านเรือน ร้านค้าหนาแน่น ป็นศูนย์รวมความเจริญของประเทศในทุกด้าน มีผู้คนจากต่างแดนมากมายเดินทางมาเยี่ยมเยือน ได้ชื่นชมศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ได้ประทับใจในรอยยิ้มและอัธยาศัยไมตรีอันดีของชาวกรุงเทพฯ ซึ่งอาจหาได้ยากจากที่อื่นใดในโลก | ||||
|
||||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|