home
Highlight
January - February 2008
 
ท้ายบท
สนทนากับนายกไลออนส์สากล
 
     เมื่อนายกไลออนส์สากล  มเหนทรา  อมราสุริยา  และภรรยา  เยือยภาครวม 310 อย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ศกที่แล้ว  ผมมีโอกาสได้สนทนากับท่านนายกไลออนส์สากลที่โรงแรมมณเฑียรริเวอร์ไซด์  เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม  ทั้งนี้โดยอดีตกรรมการอำนวยการการไลออนส์สากล  ไลออน  สมศักดิ์  โลห์วิสุทธิ์  เป็นผู้นัดหมายให้
 
นายกไลออนส์สากล  มเหนทรา  อมราสุริยา :
   
   " ..... จริงๆ ครับ  ผมได้เดินทางไปทั่วในฐานะนายกไลออนส์สากล  ผมได้เห็นโครงการบริการชุมชนที่น่าประทับใจที่ไลออนส์ในท้องถิ่นก่อตั้งขึ้นและให้การอุปถัมภ์ในหลายท้องที่  ความจริงมีมากกว่าที่ผมจะบรรยายได้หมดในที่นี้
 
     ตัวอย่างเช่น  ดรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศอินเดีย  อยู่ใจกลางชุมชนแออัดแท้ๆ แต่สามารถให้บริการแก่ผู้คนในชุมชนนั้นเป็นอย่างดี  นอกเหนือจากนั้น  ยังมีโรงเรียนที่สร้างขึ้นในบริเวณเดียวกัน  มีเด็กนักเรียนถึง  1,200 คน  ล้วนเป้นเด็กที่มีความประพฤติดี  นอกจากให้บริการรักาโรคและให้การศึกษาแล้ว  ไลออนส์ยังจัดให้มีน้ำดื่มบริสุทธิ์โดยใช้ระบบ  Reverse  Osmosis  .ให้อีกด้วย  ซึ่งเดิมทีน้ำดื่มสะอาดเป็นของหายากในบริเวณนั้น
     
     หรืออย่าง ธนาคารตา  ( Eye Bank ) ที่รัฐอิลลินอยส์  สหรัฐอเมริกา  เป็นธนาคารที่ทันสมัยมากที่สุด  ใช้วิทยาการล่าสุดเป็นที่เก็บและปลูกถ่ายกระจกตาที่มีศักยภาพสูงมาก
 
     หรืออย่างโรงพยาบาลในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย  ที่มีโครงการค้นคว้าที่จริงจังเพื่อศึกษาหาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดต้อในตา  เช่นสาเหตุทางเคมีและสาเหตุทางด้านอื่น  เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่แท้จริงทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
 
       ธนาคารเลือดที่เดลฮี  ประเทศอินเดียก็เช่นกัน  เป็นศูนย์เก็บและแจกจ่ายเลือดที่ทันสมัยมาก  ให้บริการได้อย่างกว้างไกล  โดยที่รัฐบาลไม่สามารถให้บริการอย่างเพียงพอ  ศูนย์นี้จึงมีความสำคัญอย่างมากในการให้บริการเสริม
 
         พูดถึงหมู่บ้าน" สึนามิ " ในประเทศศรีลังกา  ผมได้เห็นบ้านที่ไลออนส์สร้างให้ใหม่ไม่ต่ำกว่า 750 หลังกระจายอยู่ในหลายท้องที่  นอกจากมอบบ้านให้แล้ว  ไลออนส์ยังจัดหาเครื่องเรือนและเครื่องครัวให้ด้วยทำให้ผู้รับความช่วยเหลือสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้  สำหรับในประเทศไทย  ผมยังไม่เห็นหมู่บ้านไลออนส์ด้วยตนเอง  แต่ได้เห็นภาพและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องแล้ว  นอกเหนือจากนั้นยังมีบ้านที่ไลออนส์สร้างให้ในประเทศอินเดียและประเทศอินโดนิเซีย  สึนามิที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงมาก  มีผลเสียหายต่อผู้คนเป็นจำนวนมาก  การที่ไลออนส์สร้างบ้านให้ใหม่เป็นการช่วยเหลือที่มีผลระยะยาว  ผมเข้าใจว่ามูลนิธิไลออนล์สากล ( LCIF ) ได้บริจาคเงินให้ในการนี้รวม 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
 
     ..... ครับ  ครับ  ปีบริหารนี้ผมได้ผลักดันให้เกิด Challenges คือการท้าทายให้ทำสิ่งดีๆ  การท้าทายแรกที่สำคัญที่สุดที่ผมอยากจะเน้นเป็นพิเศษก็คือ  การเพิ่มสมาชิก  ความจริงผมไม่เข้าใจจริงๆ เลยว่าทำไม  จำนวนสมาชิกไลออนส์ทั่วโลกจึงลดลงตามลำดับ  ทั้งๆ ที่ไลออนส์เราเป็นองค์กรสากลที่ทำประโยชน์ให้แก่ประชาคมโลกอย่างมากมาย  ตัวอย่างเช่นมูนิธิไลออนส์สากล ( LCIF ) ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างมากมายทั่วโลก  อย่างโครงการ SightFirst 1 เมื่อเริ่มโครงการในปี ค.ศ. 1990 และสิ้นสุดลงปี ค.ศ. 1995 ได้รณรงค์หาทุนและมอบทุนนั้นให้โครงการสายตาต่างๆ มากมายรวมหลายสิบล้านเหรียญสหรัฐฯ  ทำให้เกิดโครงการ SightFirst ต่างๆ ไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันโครงการ  เกิดศูนย์รักษาดวงตาอีกหลายศูนย์กระจายอยู่ในที่ต่างๆ เฉพาะในทวีปอาฟริกา  โครงการฯ ได้จ่ายยาและรักษาโรคตาไม่ต่ำกว่า 400 ล้านชุดโดยร่วมกับ Carter Center ของอดีตประธานนาธิบดีจิมมี่  คาร์เตอร์
 
ถึงจะมีผลงานมากมายทั่วโลก  แต่จำนวนสมาชิกก็มีแต่ลดลงตามลำดับจากสูงสุดเมื่อปี ค.ศ. 1995 ที่ประมาณ 1.4 ล้านคน  ลดลงมาเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสโมสรไลออนส์มีภาพขององค์กรที่ " หมดยุค " หรือเป็นเพราะเราไม่ได้ใช้ประโยชน์เทคโนโลยีทางด้านข้อมูลและการสื่อสารให้มากเพียงพอ  หรือเป็นเพราะสโมสรฯ ไม่ได้ปรับปรุงลักษณะการประชุมให้กระชับ  หรือเรามีรายการบันเทิงมากจนเกินไป
 
    เพื่อให้แนวโน้มเป็นไปในทางบวก  ผมได้เริ่มให้มีฝ่าย 20 K ขึ้นมา  เพื่อวางเป้าหมายเพิ่มสมาชิกให้ได้ 20,000 คนในอนาคต  โดยตั้งเป้าหมายการเพิ่มสมาชิกด้วยเป้าหมายที่ต่างกันสำหรับแต่ละพื้นที่ภูมิศาสตร์อย่างในสหรัฐอเมริกาแนวโน้มการเพิ่มสมาชิกจะเป็นไปได้ยาก  เป้าหมายจึงเป็นพื้นที่อื่นที่มีศักยภาพให้เพิ่มได้  ในการนี้ผมได้แต่งตั้งทั้ง 20 K Mentor เพื่อดูแลภูมิภาคต่างๆ   และ 20 K Coordinator เพื่อดูแลระดับภาครวมและภาครอง  ผมมีความยินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่า  ถึงเวลานี้แนวโน้มการลดสมาชิก  และเปลี่ยนเป็นการค่อยๆ เพิ่มดูดีมากทีเดียว  ตราบที่เราสามารถรักษาสมาชิกเดิมไว้ได้  และเพิ่มสมาชิกใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นสุภาพสตรีและคนหนุ่มคนสาว  การท้าทายให้เพิ่มสมาชิกก็จะบรรลุเป้าหมายในที่สุด
 
     ..... เรื่องการประชุมใหญ่ประจำปี 2008 ของไลออนส์สากลที่กรุงเทพฯนี่หรือครับ  ผมเชื่อว่าจะเป็นการประชุมที่แตกต่าง  การประชุมใหญ่ที่จัดในประเทศของทวีปเอเซียที่ผ่านมา  มีความแตกต่างจากการประชุมในสหรัฐอเมริกาเสมอ  อย่างหนึ่งที่ผมคาดหมายคือการแสดง International Night Show ซึ่งในเอเซียจะมีสีสันและน่าตื่นตาตื่นใจมากกว่ามาก
 
ประธานการจัดการประชุมใหญ่ฝ่ายเจ้าภาพ  อดีตนายกไลออนส์สากล ขจิต คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ รวม 25,000 คน  ซึ่งตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่สูงมาก  หากทำได้จะเป็นการประชุมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดครั้งหนึ่ง  จะเห็นว่าคราวที่แล้วที่ประชุมที่เมืองชิคาโกมีผู้เข้าร่วมประชุมเพียง 14,000 คนเท่านั้น
 
    ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้คือ ปัญหาการจราจร  แต่เนื่องจากสถานที่ที่ประชุมค่อนไปทางนอกเมือง  ถ้าผู้ร่วมประชุมออกเดินทางไปแต่เช้าก็จะไม่มีปัญหาเพราะเป็นการเดินทางสวนทางกับคนจำนวนมากมายที่เดินทางเข้าเมือง  เมื่อไปถึงที่แล้วกิจกรรมต่างๆ ก็จะอยู่บริเวณเดียวไม่ต้องเคลื่อนที่มากนัก  อีกปัญหาหนึ่งคือ การเดินพาเหรดกลางนครหลวง ซึ่งเป็นเรื่องที่จัดได้ยาก  แต่เข้าใจว่ามีการดูแลเรื่องนี้กันแล้ว  สุดท้ายเรื่อง การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ทางอากาศ  คือผู้เข้ามาร่วมประชุมจากต่างประเทศส่วนมากจะเดินทางมาทางเครื่องบิน  คาดว่าจากประเทศอินเดียประมาณ 5,000 คน  ประเทศศรีลังกาประมาณ 1,500 คน  จากประเทศญี่ปุ่น  เกาหลี  ไต้หวัน  และฮ่องกง  อีกมากมาย  เกรงว่าจะมีปัญหาเรื่องจำนวนเที่ยวบินอาจไม่พอ  แต่อย่างไรก็ตามทุกอย่างคงคลี่คลายไปในทางที่ดี  ผมขอเพิ่มเติมว่าผมรู้สึกดีใจที่การประชุมใหญ่ประจำปีที่กรุงเทพฯ นี้มีขึ้นในปีบริหารที่ผมเป็นนายกไลออนส์สากล
 
..... ใช่ครับ  องค์กรของเราเป็นองค์กรสากล  แต่ที่ผ่านมามีนายกไลออนส์สากลจากทวีปเอเซียยังน้อยอยู่  เช่นจากประเทศญี่ปุ่น  อินเดีย  ไทย  เกาหลี  และศรีลังกา  ประเทศละ 1 ท่าน  ยกเว้นประเทสอินเดียที่มี 2 ท่าน  ความจริงว่าตามสัดส่วนของจำนวนสมาชิกแล้ว  ในสหรัฐฯ มีสมาชิกต่ำกว่า 400,000 คน  ซึ่งต่ำกว่า 1/3 ของสมาชิกทั่วโลก  ในอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  สมาชิกจากสหรัฐฯ ได้เป็นนายกไลออนส์สากลปีเว้นปี  ปีที่เว้นจะได้นายกฯ จากประเทศอื่น  ถ้าจะว่ากันตามสัดส่วนแล้วน่าจะมีจากสหรัฐฯ 1 ปี  แล้วเว้นให้ประเทศอื่น 2 ปี  แล้วค่อยเวียนกลับมาที่สหรัฐฯ ใหม่อีกครั้งหนึ่ง  เรื่องนี้เรากำลังดำเนินการขอกันอยู่แต่ไม่ทราบว่าจะสำเร็จหรือไม่  ทั้งนี้เป็นเพราะไลออนส์เกิดขึ้นและมีฐานสำนักงานใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา  การเปลี่ยนแปลงเรื่องวาระของนายกไลออนส์สากลจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
 
    ..... ตอบคำถามของท่านบรรณาธิการ  ครับ  เป็นไปได้ครับที่จะมีนายกไลออนส์สากลจากประเทศไทยอีก  แต่ก่อนอื่นพวกท่านจะต้องพยายามเพิ่มสมาชิกเสียก่อน  อย่างน้อยที่สุดควรจะมีสัก 10,000 คน  และรักษาระดับนี้ไว้อย่าให้จำนวนลดถอย  ซึ่งเป็นไปได้อยู่แล้ว  ดูอย่างประเทศศรีลังกาซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ  แต่ปัจจุบันเรามีสมาชิกถึง 1,200 คน  ซึ่งเข้าใจว่าการที่ผมเป็นนายกไลออนส์สากล  อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นให้มีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น  เป้าหมายของเราคือ 1,500 คน  และถ้าทำได้เราหวังว่าจะรักษาจำนวนนี้ไว้ได้เป็นเวลานาน
 
     ท่านเอง  ในประเทศไทยเอง  ก็สามารถเพิ่มสมาชิกและรักษาไว้ได้เช่นกัน ..........
    

 

ไลออน ปรีชา ตันติคุรุเสถียร

15 มกราคม 2551

pricha@gmail.com

tpricha@hotmail.com

 

THE LION MAGAZINES
THE LION SCHOLARSHIP
EDITOR'S HOME CLUB
MAGAZINE COVERS
OTHER EDITIONS
THE LIONS CLUBS INTERNATIONAL
ATTRACTIONS IN THAILAND